แนวข้อสอบ นักการเงินและการบัญชีปฏิบัติงาน สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

(2 บทวิจารณ์จากลูกค้า)

395฿605฿

รูปแบบการสั่งชื้อ แนวข้อสอบ นักการเงินและการบัญชีปฏิบัติงาน สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า พร้อมเฉลย | ก.ย. 2561

[sg_popup id=”2012″ event=”onLoad”][/sg_popup]

คำอธิบาย

แนวข้อสอบ นักตรวจสอบภายในปฏิบัติงาน สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

แนวข้อสอบ นักการเงินและการบัญชีปฏิบัติงาน สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า | ก.ย. 2561 คู่มือเตรียมสอบสำหรับสอบเข้าสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เนื้อหาปรับปรุงใหม่ล่าสุด ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น อ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย พร้อมเฉลยข้อสอบท้ายบท เรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เหมาะสำหรับเตรียมตัวสอบแข่งขันเพื่อบรรจุรับราชการ (ปรับปรุงเนื้อหาตามประกาศรับสมัคร กันยายน 2561) สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd 

เนื้อหาภายในเล่ม แนวข้อสอบ นักการเงินและการบัญชีปฏิบัติงาน สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า | ก.ย. 2561

ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า

– พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560

– แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560

– พระราชบัญญัติวิธีราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

– แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

– แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

– ด้านเหตุผล

– อุปมาอุปไมย

– บทความยาว

– บทความสั้น

– เติมคำ

– เรียงประโยค

– ข้อบกพร่องภาษา

– การใช้คำราชาศัพท์

– แนวข้อสอบด้านเหตุผล

– ด้านตัวเลข

– ลำดับและอนุกรม

– ความน่าจะเป็น

– วิธีการเรียงสับเปลี่ยน

– จำนวนเสาที่ปักตามเส้น

– การบวกเลขหลายจำนวนเรียงกัน

– บัญญัติไตรยางศ์

– ความเร็ว (v)

– ร้อยละและเปอร์เซ็นต์(%)

– ดอกเบี้ยและอัตราเงินเดือน

– หลักการบัญชีขั้นต้น

– แนวข้อสอบหลักการบัญชีขั้นต้น

– ความรู้รอบตัว สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน

– เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

– ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ

สรุปแนวข้อสอบ คู่มือเตรืยมสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบราชการ พนักงานราชการ หน่วยงานรัฐ ปรับปรุงเนื้อหา ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน ก่อนออกว่างจำหน่าย มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd อย่าลืมมี @ นำหน้าด้วยนะค่ะ


ประวัติสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

ปี พ.ศ. 2542

สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า แรกเริ่มจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นในกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน กรรมการในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเป็นเลขาธิการ

กฎหมายการแข่งขันทางการค้าในแต่ละประเทศมีความเป็นมาที่แตกต่างกัน หลายประเทศมีกฎหมายฉบับนี้เพราะถูกบังคับให้มีตัวอย่างในทวีปเอเซียเช่น ญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้บังคับให้ญี่ปุ่นต้องมีกฎหมายที่เรียกว่า กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Anti-Monopoly Act) โดยมุ่งหวังให้เปิดตลาดโดยปราศจากการครอบงำของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่ากลุ่ม Zaibatsu อินโดนีเซีย มีกฎหมายเพราะถูกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) บังคับ สิงคโปร์และเวียดนาม มีกฎหมายสืบเนื่องจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทยอาจจะกล่าวด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจว่า มีกฎหมายฉบับนี้เพราะกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ริเริ่มไม่ใช่การบังคับจากองค์กรหรือประเทศใดๆ ทั้งสิ้น และเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีกฎหมายการแข่งขันทางการค้า

โดยพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การแข่งขันทางการค้าฉบับนี้พัฒนาจาก พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขมาเป็นลำดับ สมัยก่อนการดูแลราคาสินค้าจะดูแลราคาที่ปลายทางคือราคาขายปลีก และขยับมาดูแลราคาขายส่ง ต่อมาระบบการค้าเปลี่ยนแปลง โดยโครงสร้างตลาดซึ่งมีทั้งตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) กับตลาดผูกขาด (Monopoly) ผู้ค้าปลีกจะจำหน่ายสินค้าโดยพิจารณาตามราคาที่ต้นทางกำหนด ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาแพงโดยตลอด การแก้ปัญหาราคาสินค้าจึงไม่ประสบผลสำเร็จทำให้มีการพัฒนา พ.ร.บ. ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาเป็นพ.ร.บ.การกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 เพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบการสร้างอำนาจผูกขาด เช่น การจำกัดปริมาณสินค้า จนทำให้สินค้าขาดแคลนแล้วกำหนดราคาให้สูงขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี มีกระแสที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้าออกมาหลายเรื่อง เช่น ผู้ประกอบการจำหน่ายรถยนต์รายใหญ่บางราย กีดกันผู้ประกอบการรายอื่นไม่ให้มีการนำเข้ารถยนต์ยี่ห้อที่ตนเองจำหน่าย จึงเกิดปัญหาว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการใช้อำนาจผูกขาด ทำให้มีการเสวนาถกเถียงถึงเรื่องการแข่งขันเสรีมากขึ้น

โดยที่กฎหมายการแข่งขันทางการค้า เป็นกฎหมายเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจการค้าในประเทศอย่างมาก ทั้งในด้านของการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นในตลาด รวมทั้งผู้บริโภคที่จะได้ประโยชน์จากการแข่งขัน สามารถเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลาย มีคุณภาพ และราคาถูกลง เป็นต้น ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้อย่างเข้มข้น ถึงกับมีการเทียบเคียงสถานะเปรียบเทียบดังเช่นธรรมนูญทางเศรษฐกิจ ที่ผู้ประกอบธุรกิจทุกรายไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่ กลาง เล็ก  จะต้องปฏิบัติตามอย่างเท่าเทียมกัน โดยข้อเท็จจริงแล้วกฎหมายการแข่งขันทางการค้า มีพื้นฐานที่มาจากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ที่เชื่อว่าภายใต้ปรัชญาการค้าเสรีที่อาศัยกลไกตลาด การแข่งขันที่เสรีย่อมนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ที่มีต้นทุนต่ำกว่าเท่านั้นจึงจะสามารถดำรงความเป็นผู้ชนะในการแข่งขันได้ สำหรับผู้แพ้ที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าก็จำเป็นต้องออกจากตลาดไป ซึ่งเป็นปรัชญาความเชื่อในทางทฤษฎีแต่ในโลกแห่งความเป็นจริงอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นทั้งนี้เพราะในระบบตลาดสินค้าและบริการที่เป็นอยู่ในประเทศไทย โครงสร้างตลาดส่วนใหญ่จะเป็นตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) และตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) โดยโครงสร้างตลาดในลักษณะดังกล่าว มีส่วนทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่มีความได้เปรียบและใช้อำนาจตลาดที่มีอยู่กลั่นแกล้งหรือจำกัดโอกาสในการดำเนินธุรกิจของคู่แข่งขันที่มีขนาดเล็กกว่าได้ง่าย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะที่มุ่งปกป้องตลาดให้มีการแข่งขันไม่ให้เกิดการผูกขาดและมีพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของกฎหมายที่เรียกกันว่า “ กฎหมายการแข่งขันทางการค้า” หรือบางประเทศใช้คำว่า “ กฎหมายป้องกันการผูกขาด”

กรมการค้าภายในขณะนั้น จึงได้มีคำสั่งมอบหมาย นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ผู้อำนวยการกองวิชาการ (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นคณะทำงานและเลขานุการยกร่างกฎหมายการแข่งขันทางการค้าโดยได้เชิญคณาจารย์ผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมเป็นคณะทำงานร่างกฎหมายด้วย ซึ่งใช้เวลามากพอสมควร และร่างกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีหลายครั้งจนผ่านความเห็นชอบ และถูกเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ แต่ได้มีการยุบสภาฯ ก่อน ทำให้ยังไม่ผ่านการพิจารณา และในปี 2540 สมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกฯ ก็ถูกเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอีก แต่สภาฯก็ถูกยุบอีก

ในที่สุดร่างกฎหมายฉบับนี้ก็มาเริ่มกระบวนการใหม่ในปี 2541 สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกฯ โดยผ่านมติความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เข้าสู่คณะกรรมการกฤษฎีกา และเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาจนผ่านออกมาเป็น “พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 “ และประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542

ปี 2560

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน ในฐานสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้ดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ได้ศึกษาประเด็นปัญหา ข้อจำกัดในการบังคับใช้ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งภายหลังจากการศึกษาได้จัดทำประเด็นการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542  และนำไปรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และนักวิชาการเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว

ผลจากการรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนเห็นด้วยกับแนวทางการปรับปรุง โดยได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นมาพิจารณายกร่างปรับปรุง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. …. โดยมีหลักการปรับแก้ไขประกอบด้วย 1) ความครอบคลุม 2) ความเป็นอิสระของคณะกรรมการและหน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันทางการค้า 3) การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้ และได้นำเสนอ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ….ต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ด้วยเหตุผลความจำเป็น

  • คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มีนโยบายให้ปรับปรุงแก้ไข กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ได้ถูกบรรจุในแผนการปฏิรูปกฎหมายตามนโยบายดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฯ โดยคำนึงถึงความทันสมัย และเอื้อต่อศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ ทั้งนี้ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
  • คณะรัฐมนตรีมีมติให้ร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. …. เป็นร่างกฎหมายที่มีความสำคัญเร่งด่วน(เร่งด่วน 1) และคณะอนุกรรมการพิจารณาเร่งรัด ติดตามร่างกฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติ ขอให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรัดเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีโดยด่วน
  • มาตรา 35 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กำหนดให้ส่วนราชการสำรวจ ตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์ ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว และลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญ
  • โดยที่พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทำให้บทบัญญัติในกฎหมายไม่สอดคล้องและครอบคลุมรูปแบบ โครงสร้าง และพฤติกรรมการประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และยังขาดเครื่องมือที่จำเป็นในการดูแลให้เกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม ตามแนวทางที่เป็นสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า และสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าขาดความเป็นอิสระ และถูกแทรกแซงการทำงาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการการบังคับใช้กฎหมาย

ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2560 โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 และให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ และให้มีฐานเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า 7 คน และให้เลขาธิการเป็นเลขานุการคณะกรรมการ การฟ้องคดีอาญาและการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหาย ให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพยสินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา http://otcc.dit.go.th/?page_id=47

Loading

ข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบ

เก็บเงินปลายทาง, เล่มหนังสือ, แบบไฟล์ PDF

แนวข้อสอบ นักการเงินและการบัญชีปฏิบัติงาน สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จาก 2 รีวิว

  1. webmaster

    เจาะข้อสอบ เเนวข้อสอบ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า พร้อมเฉลย ปรับปรุงล่าสุด กันยายน 2561
    – นักเทคโนโลยีปฏิบัติงาน http://bit.ly/2Nhrm5g
    – นักวิเคราะห์ธุรกิจปฏิบัติงาน http://bit.ly/2Q2D7LK
    – นิติกรปฏิบัติงาน http://bit.ly/2N9wmJm
    – นักสืบสวนสอบสวนปฏิบัติงาน http://bit.ly/2PWOxAq
    – นักการต่างประเทศปฏิบัติงาน http://bit.ly/2Q0imAf
    – นักองค์กรสัมพันธ์ปฏิบัติงาน http://bit.ly/2C9tiZr
    – นักจัดการงานปฏิบัติงาน http://bit.ly/2Cd5x2r
    – นักวางแผนโครงการปฏิบัติงาน http://bit.ly/2CeC08R
    – นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติงาน http://bit.ly/2Pxfl9u
    – นักจัดซื้อและการพัสดุปฏิบัติงาน http://bit.ly/2CbL9z2
    – นักการเงินและการบัญชีปฏิบัติงาน http://bit.ly/2PZgpnz
    – นักตรวจสอบภายในปฏิบัติงาน http://bit.ly/2N9OHWF
    – นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติงาน http://bit.ly/2CdR72b

  2. webmaster

    สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดรับสมัครสอบเป็นพนักงาน จำนวน 50 อัตรา
    สมัครเพื่อเข้ารับการคัดเลือกทางอินเทอร์เน็ต (Internet) ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม ถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) โดยสมัครเพื่อเข้ารับการคัดเลือก
    ได้ที่เว็บไซต์ https://www.otcc.or.th และ https://otcc.thaijobjob.com

เพิ่มบทวิจารณ์

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.