แนวข้อสอบ นักวิชาการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) 2561

(1 บทวิจารณ์จากลูกค้า)

395฿605฿

รูปแบบการสั่งชื้อ แนวข้อสอบ นักวิชาการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อัพเดท 2561

[sg_popup id=”2012″ event=”onLoad”][/sg_popup]

รายละเอียดเพิ่มเติม

แนวข้อสอบ นักวิชาการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อัพเดท 2561

แนวข้อสอบ นักวิชาการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อัพเดท 2561 คู่มือเตรียมสอบสำหรับสอบเข้ากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เนื้อหาปรับปรุงใหม่ล่าสุด ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น อ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย พร้อมเฉลยข้อสอบท้ายบท เรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เหมาะสำหรับเตรียมตัวสอบแข่งขันเพื่อบรรจุรับราชการ (ปรับปรุงเนื้อหาตามประกาศรับสมัคร กันยายน 2561) สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd 

เนื้อหาภายในเล่ม แนวข้อสอบ นักวิชาการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อัพเดท 2561

ความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้าง บทบาทและภารกิจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ความรู้ทั่วไปวิชาคณิตศาสตร์

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์

ความรู้ทั่วไปวิชาภาษาไทย

แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย

ความรู้ทั่วไปวิชาภาษาอังกฤษ

แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ

สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ ..2547

แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ ..2547

พระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ . . 2558

แนวข้อสอบ พรบ. การอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ . . 2558

พระราชบัญญัติโรงงาน .. 2535

แนวข้อสอบ พรบ.โรงงาน .. 2535

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ..2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ..2551

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ..2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ..2551

พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหหกรรมแห่งประเทศไทย .. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ..2550

แนวข้อสอบ พรบ.การนิคมอุตสาหหกรรมแห่งประเทศไทย .. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ..2550

พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย .. 2530

แนวข้อสอบ พรบ.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย .. 2530

ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์การส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ

ความรู้ด้านการวิเคราะห์และหลักการบริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน

ความรู้รอบตัว สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ

สรุปแนวข้อสอบ คู่มือเตรืยมสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบราชการ พนักงานราชการ หน่วยงานรัฐ ปรับปรุงเนื้อหา ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน ก่อนออกว่างจำหน่าย มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd อย่าลืมมี @ นำหน้าด้วยนะค่ะ


ประวัติประวัติกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

กองอุตสาหกรรมนี้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนและค้นคว้า ควบคุม คุ้มครอง การอุตสาหกรรมต่างๆ ที่กระทำการอยู่แล้วและจะเกิด ใหม่ให้ดำเนินการตามแบบแผนและวิธีการที่ดี ในขั้นแรก ดำเนินการให้ความสำคัญและเน้นหนักในด้านการส่งเสริม

อุตสาหกรรมในครอบครัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ (ฉบับที่ 7) ตราไว้ ณ วันที่ 1 เมษายน 2481 และให้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งด้านด้านควบคุมโรงงานและส่งเสริมการเผยแพร่กิจกรรมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งบริหารร้านจำหน่าย สินค้าที่ผลิตได้ในประเทศชื่อ “ร้านไทยอุตสาหกรรม”ปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลเห็นความสำคัญของกองอุตสาหกรรมต่อการพัฒนาอุตสาหรกรรมภายใน ประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น  จึงได้ยกฐานะกองอุตสาหกรรมขึ้นเป็น  “กรมอุตสาหกรรม” ในกระทรวงเศรษฐกิจตามพ.ร.บ ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484

ปี พ.ศ.2485 รัฐบาลได้ประกาศพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม
พ.ศ. 2485 จัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
สังกัดในกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2485
โดยมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมที่จำเป็นของประเทศ

ปี พ.ศ. 2518 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ขยายงานไปสู่ส่วนภูมิภาค  โดยจัดตั้งกองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2518 รวมทั้งได้ขยายงานไปสู่ภาคใต้ ณ จังหวัดสงขลาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น  ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2532  ได้ขยายงานไปสู่ภาคตะวันตก  ณ  จังหวัดสุพรรณบุรี  และภาคตะวันออก  ณ  จังหวัดชลบุรี

ปี พ.ศ. 2536 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเพิ่มขึ้นอีก 6 ศูนย์ ณ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุราษฎร์ธานี รวมเป็น 11 ศูนย์  เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่5) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ.2545  เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 จึงได้ปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริการงานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อให้สามารถ ปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีการวัดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมโดยเป็นการปฏิบัติงานในรูปแบบของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม

ปี พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีมีนัดพิเศษ  เมื่อวันที่  17  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2546  ได้จำแนกกลุ่มจังหวัดไว้  19  กลุ่ม  โดยให้แต่ละจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน  จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ตั้งของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่  7  จังหวัดบุรีรัมย์เป็นจังหวัดอุบลราชธานี  ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548

ปี พ.ศ. 2550 ดำเนินการปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549  เพื่อปรับปรุงและพัฒนา ส่วนราชการและวิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนระบบบุคคลให้ทันสมัยและรองรับกับยุทธศาสตร์ และคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม  โดยจัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์ และปรับเปลี่ยนสำนักงานเลขานุการกรมเป็นสำนักบริหารกลางรวมทั้งแยกสำนักพัฒนาธุรกิจ อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเป็นสำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม  และสำนักพัฒนาผู้ประกอบการ  ทั้งนี้  ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม  ณ  วันที่  23  มกราคม  พ.ศ. 2551

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ค่านิยม

วิสัยทัศน์ (VISION)

“เป็นองค์กรนำอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0”

ภารกิจ (DUTY)

ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. เสนอความเห็นเพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม

2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเครือข่ายองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการ การพัฒนาเทคโนโลยีและวิชาการ รวมทั้งกำกับดูแลติดตามและประเมินผลการให้บริการเพื่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม

3. ดำเนินมาตรการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสมรรถนะของอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของกระทรวงอุตสาหกรรม และแผนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ

4. ปฏิบัติงานอื่นๆ ใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

พันธกิจ (MISSION)

1. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น

2. เสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ

3. พัฒนาองค์การและศักยภาพบุคลากรสู่องค์การที่มีสมรรถนะสูง

4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกระดับ

ยุทธศาสตร์ (STRATEGY) พ.ศ. 2559 – 2563

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมเป้าหมายตลอดโซ่อุปทาน

เป้าประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ดิจิทัล ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเป้าหมายตลอดโซ่อุปทานให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น

กลยุทธ์

1.1 เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ดิจิทัลและความคิดสร้างสรรค์

1.2 สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรม

1.3 พัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมชุมชน

1.4 พัฒนาศักยภาพและการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม

1.5 เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม

ตัวชี้วัด

1.1 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 67

1.2 ผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 69

1.3 ต้นทุนโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของสถานประกอบการเป้าหมายลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการประกอบการ และสร้างเครือข่ายหน่วยงานและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม

เป้าประสงค์ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงบริการที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยอย่างครบวงจร

กลยุทธ์

2.1 พัฒนาการบริการให้มีประสิทธิภาพทันสมัย และครบวงจร

2.2 สร้างและพัฒนาเครือข่ายหน่วยงานและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม

2.3 พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบและวิธีการในการส่งเสริมอุตสาหกรรม

ตัวชี้วัด

2.1 จำนวนผู้เข้ารับบริการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2.2 ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 45 สามารถให้บริการผู้ประกอบการได้
2.3 ผู้รับบริการมีความความพึงพอใจต่อการให้บริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสมรรถนะองค์การให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง

เป้าประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากรและองค์การให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์

3.1 พัฒนาองค์ความรู้ ทักษะและสมรรถนะบุคลากร

3.2 สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นจิตสำนึก ค่านิยม วัฒนธรรม และธรรมาภิบาลในองค์การ

3.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

ตัวชี้วัด

3.1 บุคลากรขององค์การได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

3.2 บุคลากรมีระดับความพึงพอใจต่อระบบการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

ค่านิยม

“รับผิดชอบในหน้าที่เสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มุ่งผลสัมฤทธิ์”

 

ASIA

– Accountability

– Suggestion

– Integrity

– Achievement Motivation

Loading

ข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบ

เก็บเงินปลายทาง, เล่มหนังสือ, แบบไฟล์ PDF

แนวข้อสอบ นักวิชาการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) 2561 จาก 1 รีวิว

  1. webmaster

    เจาะข้อสอบ แนวข้อสอบ นักวิชาการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อัพเดท 2561

เพิ่มบทวิจารณ์

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.