คำอธิบาย
แนวข้อสอบ พนักงานสมทบตรวจเงินแผ่นดิน (ด้านกฎหมาย) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พร้อมเฉลย | อัพเดท มิ.ย. 2562
แนวข้อสอบ พนักงานสมทบตรวจเงินแผ่นดิน (ด้านกฎหมาย) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พร้อมเฉลย | อัพเดทล่าสุด มิ.ย. 2562 คู่มือเตรียมสอบสำหรับสอบเข้าบรรจุเป็นข้าราชการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เนื้อหาปรับปรุงใหม่ล่าสุด ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น อ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย พร้อมเฉลยข้อสอบท้ายบท เรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เหมาะสำหรับเตรียมตัวสอบแข่งขันเพื่อบรรจุรับราชการ (ปรับปรุงเนื้อหาตามประกาศรับสมัคร เมษายน 2562) สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd
เนื้อหาภายในเล่ม พนักงานสมทบตรวจเงินแผ่นดิน (ด้านกฎหมาย) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พร้อมเฉลย | อัพเดทล่าสุด มิ.ย. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
– พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
– แนวข้อสอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
– สรุป ประมวลกฎหมายอาญา
– แนวข้อสอบ ประมวลกฎหมายอาญา
– พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
– สรุปแนวข้อสอบ พ.ร.บ. ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
– แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
– สรุปสาระสำคัญ พรบ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
– แนวข้อสอบ พรบ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
– พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
– แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีงบประมาณ พ.ศ. 2561
– สรุปเหตุการณ์สำคัญปัจจุบัน ความรู้รอบตัว
– เทคนิคการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์
– ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ
สรุปแนวข้อสอบ คู่มือเตรืยมสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบราชการ พนักงานราชการ หน่วยงานรัฐ ปรับปรุงเนื้อหา ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน ก่อนออกว่างจำหน่าย มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd อย่าลืมมี @ นำหน้าด้วยนะค่ะ
ประวัติการตรวจเงินแผ่นดินไทย
ในวันพุธขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 จุลศักราช 1237 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรา “พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่างๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน” อันถือเป็นต้นกำเนิดของการตรวจเงินแผ่นดินในประเทศไทย ดังปรากฏในหมวดมาตราที่ 8 ว่าด้วยออฟฟิศหลวงในพระบรมมหาราชวังที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “ออดิตออฟฟิศ” ข้อ 1 กำหนดให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงแต่งตั้งเจ้าพนักงานใหญ่ที่อังกฤษเรียกว่า ออดิเตอเยเนอราล พนักงานสำหรับตรวจบาญชีแลสิ่งของ ซึ่งเป็นรายขึ้นในแผ่นดินทุกๆ รายและจะทรงตั้งเจ้าพนักงานรองที่อังกฤษเรียกว่า ดีปุตีออดิเตอเยเนอราล อีกนายหนึ่งสำหรับจะได้ว่าการแทน เมื่อเวลาเจ้าพนักงานใหญ่ผู้ตรวจไม่อยู่ แลจะได้ช่วยการตามแต่เจ้าพนักงานใหญ่ผู้ตรวจจะให้ช่วยในเวลาเมื่อเจ้าพนักงานใหญ่ผู้ตรวจอยู่ ฯ
การจัดตั้งออฟฟิศหลวงในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าจะจัดตั้งไม่สำเร็จ จึงรับหน้าที่ส่วนการตรวจบัญชีต่างกระทรวงมาทรงทำเอง ขึ้นในพระราชมณเทียรสถานใกล้ที่เสด็จประทับ แล้วทรงเลือกสรรผู้ช่วยพระราชธุระซึ่งทรงรับไปนั้นได้ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ซึ่งเพิ่งทรงเล่าเรียนสำเร็จพระองค์หนึ่งโปรดให้เป็นหัวหน้าพนักงานออฟฟิศมาแต่แรกตั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จลงทรงทำการที่ออฟฟิศนั้นทุกวัน การก็สะดวกแก่พระราชธุระตลอดไปจนถึงราชการอื่น
การตรวจเงินแผ่นดินไทยสมัยรัชกาลที่ 6 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2458 ยังคงมีรูปแบบเหมือนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรื้อฟื้นเรื่องการจัดตั้งกรมที่ จะตรวจบัญชีและการเงินแผ่นดินขึ้นมาอีก เนื่องจากทรงเห็นว่ารายๆได้และรายจ่ายของแผ่นดินมีมากขึ้นจำเป็นต้องตรวจตรา การรับจ่ายและรักษาเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดินขั้นในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้นายอีฟลอริโอ เป็นอธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดินคนแรก
โดยที่กรมตรวจเงินแผ่นดินกับกรมบัญชีกลางมีความเกี่ยวพันกันอยู่ตลอดเวลา เพราะมีหน้าที่ใกล้ชิดกันอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระบรมราชโองการให้สมทบกรมตรวจ เงินแผ่นดินเข้ากับกรมบัญชีกลางเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2469 โดยมีเจ้าพระยาโกมารกุลมนตรีเป็นอธิบดีกรมบาญชีกลางเป็นผู้ควบคุมกรมตรวจ เงินแผ่นดิน หน้าที่ในการตรวจถูกแบ่งออกเป็น 3 แผนก และอีก 1 ส่วน ได้แก่ แผนกพลเรือนสามัญแผนกรัฐพาณิช แผนกราชการทหาร และส่วนภูมิภาค
จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ. 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คณะกรรมการราษฎรเห็นว่าการตรวจเงินแผ่นดินสังกัดอยู่ในกรมบัญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ การตรวจตราตลอดจนการแสดงความเห็นสำหรับผลแห่งการตรวจย่อมไม่เป็นไปโดยอิสระ สมควรจะโอนกรมตรวจเงินแผ่นดินมาขึ้นต่อคณะกรรมการราษฎร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีประกาศโอนกรมตรวจเงินแผ่นดินไปขึ้นต่อคณะ กรรมการราษฎร เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 โดยมีพระยานรนารถภักดี เป็นผู้ช่วยอธิบดีและหลวงดำริอิศรานุวรรต เป็นผู้ทำการแทนอธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดินอยู่จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2476
ในปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลเห็นสมควรให้การตรวจตราทรัพย์สินของแผ่นดินเป็นที่เชื่อถือแก่ประชาราษฎรมากขึ้น จึงตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476 จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินขึ้นแทนกรมตรวจเงินแผ่นดินเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 มีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยหลวงดำริอิศรานุวรรต ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นคนแรก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารแผ่นดินใหม่ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเห็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่ให้อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี การตรวจเงินแผ่นดินระหว่างปี พ.ศ. 2475-2522 มีการจัดองค์กรการทำงานโดยระบบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งประกอบด้วย ประธาน เลขาธิการ และกรรมการ ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดี เลขาธิการเทียบเท่ารองอธิบดีเป็นข้าราชการชั้นพิเศษ ส่วนกรรมการเป็นข้าราชการชั้นเอกระดับหัวหน้ากอง
ต่อมาได้ประกาศใช้พระราชบัญญติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2522 โดยมีเนื้อหาเพื่อให้มีการตรวจสอบการรับจ่ายเก็บรักษาเงินและทรัพย์สิน ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นไปโดยถูกต้องและเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ ตามพระราชบัญญติฉบับนี้ นอกจากปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสถาบัน ตรวจเงินแผ่นดินจากคณะกรรมการมาเป็นรูปแบบที่มีผู้อำนวยการสำนักงานฯ เป็นผู้รับผิดชอบงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเพียงผู้เดียวแล้วยังเพิ่ม บทบาทการตรวจสอบ โดยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ตรวจสอบถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความประหยัดของการใช้จ่าย เงินงบประมาณและตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งเป็นการพัฒนา บทบาทของสถาบันตรวจเงินแผ่นดินของไทยให้สอดคล้องกับปฏิญญา สากลว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งส่วนใหญ่การตรวจสอบจะครอบคลุม ด้านการเงิน (Financial Audit) การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance Audit) และการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit)
ปัจจุบันการตรวจเงินแผ่นดินของไทยเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ . ศ . 2542 ซึ่งออกตามความในมาตรา 312 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ . ศ . 2540 ที่กำหนดให้การตรวจเงินแผ่นดิน กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง และตามบทเฉพาะกาล มาตรา 333 ได้กำหนดสาระสำคัญของกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินแระกอบด้วย อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน อันได้แก่ การวางนโยบาย การให้คำปรึกษาและคำแนะนำ การเสนอแนะให้มีการแก้ไข ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาใน เรื่องวินัยทางงบประมาณและการคลัง การกำหนดโทษปรับทางปกครอง การพิจารณาวินิจฉัยความผิดทางวินัยและงบประมาณและการคลังในฐานะที่เป็น องค์กรสูงสุด และการพิจารณาเลือกผู้สมควรดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และการจัดให้มีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การปฏิบัติงาน และการดำเนินการอื่น
ดังนั้นการตรวจเงินแผ่นดินในปัจจุบันจึงเป็นองค์กรตรวจสอบ อิสระและเป็นกลาง ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้เสนอรายงานผลการปฏิบัติงาน ต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี และมีคณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาและกำหนดโทษปรับทางปกครองเบื้องต้น แก่เจ้าหน้าที่หรือ พนักงานของหน่วยรับตรวจที่ฝ่าฝืนมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการเงินของรัฐ
webmaster –
คู่มือเตรียมสอบ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน อัพเดท มิ.ย. 2562