แนวข้อสอบ นักวิชาการเงินและบัญชี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) 2561

(1 บทวิจารณ์จากลูกค้า)

395฿605฿

รูปแบบการสั่งชื้อ แนวข้อสอบ นักวิชาการเงินและบัญชี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อัพเดท 2561

[sg_popup id=”2012″ event=”onLoad”][/sg_popup]

รายละเอียดเพิ่มเติม

แนวข้อสอบ นักวิชาการเงินและบัญชี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อัพเดท 2561

แนวข้อสอบ นักวิชาการเงินและบัญชี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อัพเดท 2561 คู่มือเตรียมสอบสำหรับสอบเข้ากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เนื้อหาปรับปรุงใหม่ล่าสุด ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น อ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย พร้อมเฉลยข้อสอบท้ายบท เรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เหมาะสำหรับเตรียมตัวสอบแข่งขันเพื่อบรรจุรับราชการ (ปรับปรุงเนื้อหาตามประกาศรับสมัคร กันยายน 2561) สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd 

เนื้อหาภายในเล่ม แนวข้อสอบ นักวิชาการเงินและบัญชี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อัพเดท 2561

ความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้าง บทบาทและภารกิจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ความรู้ทั่วไปวิชาคณิตศาสตร์

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์

ความรู้ทั่วไปวิชาภาษาไทย

แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย

ความรู้ทั่วไปวิชาภาษาอังกฤษ

แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ

สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ ..2547

แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ ..2547

ความรู้เกี่ยวกับการเงินและบัญชี

แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับการเงินและบัญชี

ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และนำเงินส่งคลัง ..2551

แนวข้อสอบระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และนำเงินส่งคลัง ..2551

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ ..2553

แนวข้อสอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ ..2553

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณ ..2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณ ..2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ .. 2502 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) .. 2543

แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ ..2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม .. 2543

แนวข้อสอบ พรบ.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย .. 2530

ความรู้รอบตัว สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ

สรุปแนวข้อสอบ คู่มือเตรืยมสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบราชการ พนักงานราชการ หน่วยงานรัฐ ปรับปรุงเนื้อหา ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน ก่อนออกว่างจำหน่าย มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd อย่าลืมมี @ นำหน้าด้วยนะค่ะ


ประวัติประวัติกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

กองอุตสาหกรรมนี้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนและค้นคว้า ควบคุม คุ้มครอง การอุตสาหกรรมต่างๆ ที่กระทำการอยู่แล้วและจะเกิด ใหม่ให้ดำเนินการตามแบบแผนและวิธีการที่ดี ในขั้นแรก ดำเนินการให้ความสำคัญและเน้นหนักในด้านการส่งเสริม

อุตสาหกรรมในครอบครัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ (ฉบับที่ 7) ตราไว้ ณ วันที่ 1 เมษายน 2481 และให้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งด้านด้านควบคุมโรงงานและส่งเสริมการเผยแพร่กิจกรรมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งบริหารร้านจำหน่าย สินค้าที่ผลิตได้ในประเทศชื่อ “ร้านไทยอุตสาหกรรม”ปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลเห็นความสำคัญของกองอุตสาหกรรมต่อการพัฒนาอุตสาหรกรรมภายใน ประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น  จึงได้ยกฐานะกองอุตสาหกรรมขึ้นเป็น  “กรมอุตสาหกรรม” ในกระทรวงเศรษฐกิจตามพ.ร.บ ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484

ปี พ.ศ.2485 รัฐบาลได้ประกาศพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม
พ.ศ. 2485 จัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
สังกัดในกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2485
โดยมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมที่จำเป็นของประเทศ

ปี พ.ศ. 2518 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ขยายงานไปสู่ส่วนภูมิภาค  โดยจัดตั้งกองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2518 รวมทั้งได้ขยายงานไปสู่ภาคใต้ ณ จังหวัดสงขลาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น  ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2532  ได้ขยายงานไปสู่ภาคตะวันตก  ณ  จังหวัดสุพรรณบุรี  และภาคตะวันออก  ณ  จังหวัดชลบุรี

ปี พ.ศ. 2536 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเพิ่มขึ้นอีก 6 ศูนย์ ณ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุราษฎร์ธานี รวมเป็น 11 ศูนย์  เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่5) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ.2545  เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 จึงได้ปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริการงานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อให้สามารถ ปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีการวัดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมโดยเป็นการปฏิบัติงานในรูปแบบของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม

ปี พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีมีนัดพิเศษ  เมื่อวันที่  17  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2546  ได้จำแนกกลุ่มจังหวัดไว้  19  กลุ่ม  โดยให้แต่ละจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน  จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ตั้งของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่  7  จังหวัดบุรีรัมย์เป็นจังหวัดอุบลราชธานี  ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548

ปี พ.ศ. 2550 ดำเนินการปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549  เพื่อปรับปรุงและพัฒนา ส่วนราชการและวิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนระบบบุคคลให้ทันสมัยและรองรับกับยุทธศาสตร์ และคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม  โดยจัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์ และปรับเปลี่ยนสำนักงานเลขานุการกรมเป็นสำนักบริหารกลางรวมทั้งแยกสำนักพัฒนาธุรกิจ อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเป็นสำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม  และสำนักพัฒนาผู้ประกอบการ  ทั้งนี้  ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม  ณ  วันที่  23  มกราคม  พ.ศ. 2551

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ค่านิยม

วิสัยทัศน์ (VISION)

“เป็นองค์กรนำอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0”

ภารกิจ (DUTY)

ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. เสนอความเห็นเพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม

2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเครือข่ายองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการ การพัฒนาเทคโนโลยีและวิชาการ รวมทั้งกำกับดูแลติดตามและประเมินผลการให้บริการเพื่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม

3. ดำเนินมาตรการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสมรรถนะของอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของกระทรวงอุตสาหกรรม และแผนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ

4. ปฏิบัติงานอื่นๆ ใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

พันธกิจ (MISSION)

1. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น

2. เสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ

3. พัฒนาองค์การและศักยภาพบุคลากรสู่องค์การที่มีสมรรถนะสูง

4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกระดับ

ยุทธศาสตร์ (STRATEGY) พ.ศ. 2559 – 2563

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมเป้าหมายตลอดโซ่อุปทาน

เป้าประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ดิจิทัล ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเป้าหมายตลอดโซ่อุปทานให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น

กลยุทธ์

1.1 เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ดิจิทัลและความคิดสร้างสรรค์

1.2 สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรม

1.3 พัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมชุมชน

1.4 พัฒนาศักยภาพและการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม

1.5 เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม

ตัวชี้วัด

1.1 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 67

1.2 ผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 69

1.3 ต้นทุนโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของสถานประกอบการเป้าหมายลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการประกอบการ และสร้างเครือข่ายหน่วยงานและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม

เป้าประสงค์ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงบริการที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยอย่างครบวงจร

กลยุทธ์

2.1 พัฒนาการบริการให้มีประสิทธิภาพทันสมัย และครบวงจร

2.2 สร้างและพัฒนาเครือข่ายหน่วยงานและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม

2.3 พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบและวิธีการในการส่งเสริมอุตสาหกรรม

ตัวชี้วัด

2.1 จำนวนผู้เข้ารับบริการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2.2 ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 45 สามารถให้บริการผู้ประกอบการได้
2.3 ผู้รับบริการมีความความพึงพอใจต่อการให้บริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสมรรถนะองค์การให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง

เป้าประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากรและองค์การให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์

3.1 พัฒนาองค์ความรู้ ทักษะและสมรรถนะบุคลากร

3.2 สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นจิตสำนึก ค่านิยม วัฒนธรรม และธรรมาภิบาลในองค์การ

3.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

ตัวชี้วัด

3.1 บุคลากรขององค์การได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

3.2 บุคลากรมีระดับความพึงพอใจต่อระบบการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

ค่านิยม

“รับผิดชอบในหน้าที่เสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มุ่งผลสัมฤทธิ์”

 

ASIA

– Accountability

– Suggestion

– Integrity

– Achievement Motivation

Loading

ข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบ

เก็บเงินปลายทาง, เล่มหนังสือ, แบบไฟล์ PDF

แนวข้อสอบ นักวิชาการเงินและบัญชี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) 2561 จาก 1 รีวิว

  1. webmaster

    แนวข้อสอบ นักวิชาการเงินและบัญชี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ปรับปรุง 2561

เพิ่มบทวิจารณ์

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.