ประวัติสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (Queen Sirikit National Institute of Child Health)
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเดิมเป็นแผนกเด็กในโรงพยาบาลหญิง(โรงพยาบาลราชวิถี) ซึ่งขณะนั้นมีเตียงรับผู้ป่วยเด็กเพียง ๒๕ เตียง และในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณในการก่อสร้างอาคารแผนกเด็ก และสามารถขยายงานในการดูแลผู้ป่วยเด็กหลายสาขา รับผู้ป่วยได้ ๑๓๗ เตียง และให้ชื่อว่า“โรงพยาบาลเด็ก”ในการบังคับบัญชายังขึ้นกับโรงพยาบาลหญิง ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มาทำพิธีเปิดอาคารของโรงพยาบาลเด็กในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๗
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ด้วยเหตุนี้ในวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ จึงได้ยกฐานะเป็นกองโรงพยาบาลเด็ก กรมการแพทย์ มีอำนาจเต็มในการบริหาร ในเวลานั้นมีแพทย์ประจำ ๑๘ คน พยาบาล ๗๐ คน
วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๓ ตอนที่ ๔๕ ก.เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเด็กเป็น “สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
ในยุคแรก
โรงพยาบาลเด็กซึ่งนับว่าเป็นสถาบันแรกนอกมหาวิทยาลัยแพทยศาตร์ที่ได้จัดให้มีการฝึกอบรมวิชาโรคเด็กขึ้น ซึ่งระยะแรกได้รับความช่วยเหลือร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากคณาจารย์ภาควิชากุมารคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เหตุผลที่ทำให้มีการอบรมแพทย์โรคเด็ก เพราะผู้ป่วยเด็กมีจำนวนมากขึ้นและมีอัตราตายสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วด่วยเฉพาะเด็กเกิดใหม่ แพทย์เฉพาะทางมีจำนวนน้อยมาก หลังโรงพยาบาลเด็กเปิดไม่นาน พญ.อรวรรณ คุณวิศาล (ซึ่งไปศึกษาโรงพยาบาลเด็ก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้กลับมาปฏิบัติงานทางแผนกเด็ก พ.ศ. ๒๔๙๔ และเป็นหัวหน้าแผนกเด็กคนแรก ท่านได้นำความรู้มาช่วยปรับปรุงแผนกเด็ก และดำเนินการสอนแพทย์ประจำบ้านแผนกเด็กในเวลานั้น การฝึกอบรมทางกุมารเวชศาสตร์ จึงอาจนับได้ว่าเริ่มต้นในตอนนั้น เพราะเวลาเดียวกันนั้นแพทย์ที่จบจาก โรงเรียนแพทย์ ต้องออกไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด ทางกรมการแพทย์ได้ส่งมาดูงาน ที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ก่อน แผนกเด็กจึงเป็นที่ที่รับผู้มาดูงานเสมอ ทางแผนกเด็กเองได้มีการสอนแพทย์เหล่านี้ โดยเน้นหลักทางภาคปฏิบัติเป็นแบบ Clinical Teaching ผู้ที่มารับการฝึกอบรมและดูงาน ได้ปฏิบัติงานในแผนกเด็ก ทั้งคนไข้นอกคนไข้ในรวมทั้งเด็กเกิดใหม่ ในขณะนั้นยังไม่มีหลักสูตรแน่นอน ระยะเวลาที่มาดูงาน แล้วแต่ความต้องการ มีตั้งแต่ระยะ ๑ เดือน ถึง ๑ ปี พอครบกำหนดแล้วก็ออกไปปฏิบัติงานตามโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค
ในยุคแรก
พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมการแพทย์ได้จัดให้มีแพทย์ฝึกหัดหมุนเวียน (Rotating Intern) โดยคัดเลือกแพทย์ที่ต้องออกไปปฏิบัติงานตามภูมิภาค ๕ – ๖ คน มารับการอบรมสาขาหลักที่โรงพยาบาลต่าง ๆ ของกรมการแพทย์ ได้แก่ รพ.หญิง, รพ.เลิดสิน, รพ.กลาง บางครั้งมี รพ.วชิระ ด้วย แพทย์เหล่านี้จะหมุนเวียนไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ แห่งละประมาณ ๒ เดือน แพทย์ที่มาแผนกเด็กจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานทางโรคเด็ก ซึ่งแบ่งแยกตามอายุต่าง ๆ ปัญหาต่าง ๆ ที่พบ และมีการอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ รวมทั้งการทำ procedure ต่าง ๆ พอจบปีก็ต้องออกไปปฏิบัติงานตามต่างจังหวัด เท่าที่ได้ติดตามผล จากการสอบถามอย่างไม่เป็นทางการ แพทย์เหล่านี้ก็ไปปฏิบัติงานทางเด็กได้ดีพอใช้ การจัดแบบนี้ทำอยู่หลายปีจึงเลิกไป
ในยุคแรก
พ.ศ. ๒๕๐๑ Dr,Harold Brown จาก USOM (United Stated Overseas Mission) ศ.นพ.สวัสดิ์ สกุลไทย์ ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และอาจารย์ นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ได้มีการประชุมและเห็นพ้องต้องกันว่า น่าจะมีการจัดระบบการศึกษาหลังปริญญาขึ้นที่โรงพยาบาลเด็ก โดยให้มี Program training ร่วมกับมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนกุมารแพทย์ โดยให้มีการศึกษาแบบ Residency Training Program การดำเนินการโดยมีแพทย์จากมหาวิทยาลัยหลายฝ่ายร่วมเป็นกรรมการ ทั้งจากคณะแพทย์จากศิริราชพยาบาล โครงการนี้แบ่งออกเป็น ๒ ระยะ โครงการระยะแรกเริ่มในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๐๒ โครงการระยะที่ ๒ เป็นโครงการให้การศึกษาแก่นักเรียนแพทย์ ซึ่งไม่ได้ดำเนินการ
ในยุคแรก
ส่วนโครงการแรกได้จัดอบรมที่โรงพยาบาลเด็ก โดยมี Prof. Paul Rasmussen จากมหาวิทยาลัยยูทา (Urah) มาเป็นที่ปรึกษา โดยได้รับทุนสนับสนุนจากยูซอม โครงการนี้ได้จัดทำอยู่ ๒ ปี ยูซอมก็งดทุนแต่โรงพยาบาลเด็กได้ทำการอบรมต่อ โดยใช้หลักสูตรเช่นนี้และเพิ่มเวลาฝึกอบรมเป็น ๓ ปี โดยอาศัยหลักสูตร Residency Training ของสหรัฐอเมริกา แต่ในระหว่างนั้นมีแพทย์เดินทางไปศึกษาและทำงานที่ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการขาดแพทย์ ผู้ที่เข้าฝึกอบรมในโครงการนี้จึงมีน้อย แต่อย่างไรก็ตามทางโรงพยาบาล ยังจัดให้มีการอบรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักการที่สร้างกุมารแพทย์ที่ออกไปปฏิบัติงาน ในชุมชน เพื่อดูแลรักษาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับเด็กรวมทั้งส่งเสริมสุขภาพของเด็ก การเรียนการสอนจึงเน้นด้าน Clinical Teaching มากกว่า ทางทฤษฏี ซึ่งทางโรงพยาบาลเด็ก มีผู้ป่วย ที่ถือเป็นครูแพทย์ที่สำคัญและดีที่สุดอย่างเพียงพอ เนื่องจากโรงพยาบาลเด็กเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและแห่งเดียว ที่รักษาและดูแลสุขภาพของเด็กโดยเฉพาะจึงมีผู้ป่วยเด็กมารับการรักษาเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลายของโรคต่าง ๆ ทั้งชนิดของโรคและความรุนแรง แพทย์ที่ขยันในการปฏิบัติงานมีความเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วยและขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมด้วยการศึกษาด้วยตนเอง ประกอบการบรรยายของอาจารย์ และการอ่านตำราเพิ่มเติม จะได้ความรู้และมีประสบการณ์อย่างเพียงพอที่จะออกไปปฏิบัติงานหลังการฝึกอบรม ๓ ปี
ในยุคแรก
ต่อมากลางปี พ.ศ. ๒๕๐๕ กรมการแพทย์ได้รับการจัดสรรแพทย์ฝึกหัดส่วนกลางจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อมาฝึกงานในโรงพยาบาลของกรมการแพทย์ ๑ ปี แพทย์เหล่านี้จะต้องหมุนเวียนไปตามโรงพยาบาลของกรมการแพทย์ตามที่กล่าวมา และมีเวลาที่โรงพยาบาลเด็ก ประมาณ ๒ เดือน ทางโรงพยาบาลคิดว่าเพื่อให้การอบรมได้ผลดีขึ้น จึงจัดหลักสูตรสั้น ๆ ๑ – ๒ สัปดาห์ เป็น Orientation เกี่ยวแก่โรงพยาบาลเด็ก โรคเด็กและปัญหาที่พบบ่อย เช่น Diarrhea, การให้ fluid electrolyte, ยาที่ใช้, โรคชักในเด็ก, ปอดบวม, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, โรคไข้เลือดออกโดยย่อ ๆ เป็นต้นว่าสาเหตุการพิเคราะห์โรค การรักษาจะรวมถึงการใช้ยาในเด็กและขนาดของยาด้วย การสอนเช่นนี้ได้ทำมาตลอดเวลาที่มีแพทย์ฝึกหัด
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มีการริเริ่มจัดตั้งหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านระยะ ๓ ปีตามหลักสูตรแพทยสภา เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขากุมารเวชศาสตร์ ซึ่งเมื่อผ่านการฝึกอบรมแล้วจะต้องสอบเพื่อวุฒิบัตร โดยในระยะแรกสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยซึ่งประกอบด้วยกุมารแพทย์จากสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งโรงพยาบาลเด็ก ได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม ๓ ปี รวมทั้งจัดการสอบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จนถึงปัจจุบันนี้
ในยุคแรก
สำหรับหลักการและเนื้อหาของการเรียนการสอนยังคงยึดหลักเน้นหลักทางด้านภาคปฏิบัติ (Clinical teaching) มากกว่าทฤษฏี ด้วยเหตุผลว่าโรงพยาบาลเด็กมีผู้ป่วยหลากหลาย ซึ่งมีคุณค่าสำหรับผู้ที่ขวนขวายหาความรู้และความสามารถศึกษาด้วยตนเอง โดยมีแพทย์ประจำ (Staff) เป็นอาจารย์ที่คอยให้คำแนะนำดูแล และควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด โรงพยาบาลเด็กจึงนับได้ว่า เป็นผู้ริเริ่มการจัดให้แพทย์ประจำบ้านทำการศึกษาโรคต่าง ๆ โดยแพทย์ประจำบ้านปีที่ ๓ จะต้องทำการศึกษาคนละ ๑ เรื่อง โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาหรือร่วมวิจัย อาจเป็นการศึกษาระบาดวิทยา (descriptive epidemiology) หรือ การรายงานผู้ป่วย ซึ่งการวิจัยนี้ได้ทำมาก่อนแพทยสภาจะจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาและอบรมเพื่อวุฒิบัตร
สำหรับชั่วโมงการบรรยายทางด้านทฤษฏีนั้น ได้จัดตามหลักสูตรของแพทยสภา วิชาที่ทางโรงพยาบาลเด็กขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาบรรยายเพิ่มเติม ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอมาจากโรงเรียนแพทย์ทุกแห่ง
ในยุคแรก
เนื่องจากโรงพยาบาลเด็กเป็นโรงพยาบาลเฉพาะเด็ก จึงมีหน่วยงานต่าง ๆ รวมอยู่ในสถาบันเดียวกันที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์อื่น ๆ ไม่มี เช่น ฝ่ายศัลยกรรม, ฝ่ายศัลยกรรมกระดูก, ฝ่ายจักษุ และฝ่ายโสต ศอ นาสิก, ฝ่ายรังสีวิทยา, ฝ่ายทันตกรรม, ฝ่ายพยาธิวิทยา ห้องปฏิบัติการเพาะเชื้อ แบคทีเรีย และการตรวจ น้ำเหลืองวินิจฉัยโรค ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ เหล่านี้จำทำให้แพทย์ประจำบ้านได้เรียนรู้โรคและความเปลี่ยนแปลงของโรคสาขาเหล่านั้นได้สะดวก
เมือปีพ.ศ.๒๕๒๒ หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารศัลยกรรม ได้รับการรับรองตามหลักสูตรแพทยสภา เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขากุมารศัลยศาสตร์ เป็นสถาบันแรกของประเทศไทย
Reviews
There are no reviews yet.