คำอธิบาย
แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย เจ้าพนักงานพัฒนาศักยภาพ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (DEP) 2561
แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย เจ้าพนักงานพัฒนาศักยภาพ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (DEP) 2561 คู่มือเตรียมสอบสำหรับสอบเข้าบรรจุเป็นพนักงานราชการกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เนื้อหาปรับปรุงใหม่ล่าสุด ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น อ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย พร้อมเฉลยข้อสอบท้ายบท เรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เหมาะสำหรับเตรียมตัวสอบแข่งขันเพื่อบรรจุรับราชการ (ปรับปรุงเนื้อหาตามประกาศรับสมัคร กรกฎาคม 2561) สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd [sg_popup id=2012]
เนื้อหาภายในเล่ม แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย เจ้าพนักงานพัฒนาศักยภาพ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (DEP) 2561
– ความรู้เกี่ยวกับกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
– สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
– แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานของกรมกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
– ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
– ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551
– แนวข้อสอบ พรบ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551
– ความรู้รอบตัว สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
– เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
– ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ
รูปแบบการสั่งชื้อ ฟรีค่าจัดส่ง
01. แบบไฟล์ PDF ราคา 395 บาท (จัดส่งทาง Email ภายใน 30 นาที)
02. แบบเล่มหนังสือ ราคา 585 บาท (จัดส่งโดย Kerry Express ภายใน 1–3 วัน)
03. แบบเล่มหนังสือ เก็บเงินปลายทาง ราคา 605 บาท (มีค่าบริการเพิ่ม 20 บาท [585+20=605] จัดส่งโดย Kerry Express ภายใน 1–3 วัน)
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขั้นตอนการชำระเงิน
สรุปแนวข้อสอบ คู่มือเตรืยมสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบราชการ พนักงานราชการ หน่วยงานรัฐ ปรับปรุงเนื้อหา ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน ก่อนออกว่างจำหน่าย มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd อย่าลืมมี @ นำหน้าด้วยนะค่ะ
ประวัติกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
- รัฐจัดตั้งกรมประชาสงเคราะห์ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่ตั้งกรมฯ อยู่ในพี้นที่วังสราญรมย์ เขตพระนคร
- กรมฯ ได้ตั้งหน่วยงานรับผิดชอบดูแลเรื่องคนพิการ ในระดับ กลุ่มงาน เป็นงานคนพิการ ในฝ่ายสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง กองสวัสดิการสงเคราะห์
- ในระยะเริ่มแรก เน้นการให้บริการ ด้านสวัสดิการสงเคราะห์ ให้แก่คนพิการ
- กรมฯ ย้ายมาตั้งที่วังสะพานขาว และคงดำเนินงานสวัสดิการสงเคราะห์ให้แก่คนพิการ โดยยกระดับงานคนพิการเป็นฝ่ายสงเคราะห์คนพิการในกองสวัสดิการสงเคราะห์
- กรมประชาสงเคราะห์ และองค์กรเอกชนด้านคนพิการเล็งเห็นความสำคัญ ในเรื่องสิทธิและโอกาสของการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จึงได้ร่วมกันผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับคนพิการ
- รัฐบาลได้ ประกาศใช้พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการ พ.ศ.2534
- พ.ร.บ. ดังกล่าวให้จัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ” (สฟก.) ขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัด กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
- กรมฯ ได้โอนงานคนพิการในฝ่ายสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง กองสวัสดิการสังคม มารวมที่ สฟก.
- สฟก. ทำหน้าที่
- เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
- เป็นสำนักทะเบียนกลางสำหรับคนพิการ
- ดำเนินการทั้งงานด้านวิชาการ การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- สนับสนุนหน่วยงานสถาบันที่ให้บริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
- มีการปรับโครงสร้างการบริหารราชการเมื่อเดือน กันยายน โดยโอนสำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ จากสังกัดกระทรวงมหาดไทย ไปสังกัด กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- มีการปฏิรูป ระบบราชการ โดยปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่
- “สำนักคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ” ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ (สทก.)” สังกัดสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
- สทก. ทำหน้าที่เช่นเดีวกับ สฟก. โดยเน้นงานวิชาการและการจัดทำองค์ความรู้ด้านคนพิการ สำหรับงานการบริการ และการให้สวัสดิการสงเคราะห์แก่คนพิการ ดำเนินการโดย สำนักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ย้าย สทก. มาตั้งในบริเวณสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี เขตราชเทวี
เนื่องจากพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ใช้บังคับมานาน สาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับการสงเคราะห์และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการไม่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ขึ้น
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2550
- จัดตั้ง “สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ”ขึ้น เป็นส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์
- มีเลขาธิการ ซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และบุคลากรของสำนักงาน
- สาระสำคัญ ของ พระราชบัญญัติ คือ
- คนพิการได้รับสิทธิตามกฎหมายมากขึ้น อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม
- มีการลดหย่อนภาษีให้ผู้ดูแลคนพิการ
- ให้กระทรวงต่างๆ เข้ามาดูแลคนพิการมากขึ้น
ประโยชน์ของการยกฐานะสำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการเป็นส่วนราชการ เทียบเท่ากรม ทำให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ดำเนินงานด้านคนพิการทั้งในเชิงนโยบาย และการปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
วิสัยทัศน์
คนพิการมีศักยภาพ ดำรงชีวิตอิสระสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Empowering Indepedent Living for Persons with Disabilities towards Inclusive Society)
พันธกิจ
1. ส่งเสริมให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างเท่าเทียม ปราศจากการถูกเลือกปฏิบัติ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรและเครือข่ายด้านคนพิการ ให้มีศักยภาพในการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
3. ขับเคลื่อน และบูรณาการนโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
4. ส่งเสริมศักยภาพและเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการและความพิการในสังคม
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างมีประสิทธิภาพ
6. พัฒนาองค์กรให้มีสมรรถนะสูง และบุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ
ยุทธศาสตร์
1. ส่งเสริมคนพิการให้เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างเท่าเทียม (Accessibility)
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือกับองค์กรด้านคนพิการและเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ (Association)
3. บูรณาการและขับเคลื่อนนโยบายด้านคนพิการสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม (Advance Policy)
4. พัฒนาศักยภาพและสร้างเจตคติที่สร้างสรรค์ต่อคนพิการและความพิการ (Ability)
5. พัฒนา พก. ให้เป็นองค์กรที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (Achieved Organization)
ค่านิยม: มีคุณธรรม นวัตกรรมดีเด่น เน้นทีมงาน ประสานเครือข่าย
อำนาจหน้าที่
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรียกโดยย่อว่า ” พก.” มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการปฏิบัติงานและการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
2. ศึกษา วิเคราะห์ สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการ สถานการณ์ของคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อประโยชน์ต่อการป้องกัน การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ รวมทั้งจัดทำแผนงาน วิเคราะห์ วิจัย ติดตามประเมินผล เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
3. จัดทำแผนงานการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง การดำเนินงาน และการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิคนพิการ ตลอดจนสนับสนุนและประสานงานให้หน่วยงานของรัฐ จัดงบประมาณให้แก่องค์การด้านคนพิการ เพื่อให้สามารถดำเนินงานส่งเสริมและพัมนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง การดำเนินงาน และกำกับดูแลศูนย์บริการคนพิการทุกประเภท
6. ดำเนินการและส่งเสริมกิจการของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ที่ได้จัดตั้งขึ้นทั้งในส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น
7. ตรวจสอบการได้รับสิทธิประโยชน์ของคนพิการตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดีแก่คนพิการ
8. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคนพิการให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวก สวัสดิการ และความช่วยเหลืออื่นตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
webmaster –
แนวข้อสอบ กรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พร้อมเฉลย ปรับปรุงใหม่ล่าสุด สิงหาคม 2561