แนวข้อสอบ พนักงานประจำสำนักงาน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 2561

(1 บทวิจารณ์จากลูกค้า)

395฿605฿

รูปแบบการสั่งชื้อ แนวข้อสอบ พนักงานประจำสำนักงาน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ | อัพเดทล่าสุด ส.ค. 2561

[sg_popup id=2012]

รายละเอียดเพิ่มเติม

แนวข้อสอบ พนักงานประจำสำนักงาน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ | อัพเดทล่าสุด ส.ค. 2561

แนวข้อสอบ พนักงานประจำสำนักงาน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ | อัพเดทล่าสุด ส.ค. 2561 คู่มือเตรียมสอบสำหรับสอบเข้าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื้อหาปรับปรุงใหม่ล่าสุด ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น อ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย พร้อมเฉลยข้อสอบท้ายบท เรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เหมาะสำหรับเตรียมตัวสอบแข่งขันเพื่อบรรจุรับราชการ (ปรับปรุงเนื้อหาตามประกาศรับสมัคร สิงหาคม 2561) สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd 

เนื้อหาภายในเล่ม แนวข้อสอบ พนักงานประจำสำนักงาน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ | อัพเดทล่าสุด ส.ค. 2561

ความรู้เกี่ยวกับ บทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
– พระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
– แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
– สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
⁃ แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
– พระราชบัญญัติบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553
– แนวข้อสอบ พรบ.บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553
– สรุปสาระสำคัญ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
– สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
– นโยบายการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
– แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ. ศ. 2558
– แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ. ศ. 2558
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
– แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
– แนวข้อสอบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
⁃ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. 2544
⁃ แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. 2544
– การเขียนหนังสือราชการ
– การเขียนรายงานการประชุม
– ความรู้เกี่ยวกับสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
– หลักพื้นฐานสำหรับการบริการที่ดี
⁃ ความรู้รอบตัว สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
⁃ เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
⁃ ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ

สรุปแนวข้อสอบ คู่มือเตรืยมสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบราชการ พนักงานราชการ หน่วยงานรัฐ ปรับปรุงเนื้อหา ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน ก่อนออกว่างจำหน่าย มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd อย่าลืมมี @ นำหน้าด้วยนะค่ะ


ความรู้เกี่ยวกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

จุดเริ่มต้นของนโยบายการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้

รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยให้ความสำคัญเป็นพิเศษ กับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกลจากศูนย์กลางการบริหารราชการส่วนกลาง และมีพื้นที่ติดกับเพื่อนบ้านที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน ทั้งด้าน สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ภาพลักษณ์ของพื้นที่ที่มีความไม่สงบ สภาพปัญหาที่มีความละเอียดอ่อน ซับซ้อน ทั้งในด้านสังคมจิตวิทยา เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง โดยเฉพาะความไม่เข้าใจกันและหวาดระแวงในความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของ รัฐ กับประชาชน
ด้วยเหตุผลดังกล่าวรัฐบาลจึงกำหนดนโยบายใน การแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการเฉพาะในลักษณะพื้นที่พิเศษ โดยในอดีตนโยบายที่กำหนดขึ้นมุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่อง ต่อมา ในปี 2521 รัฐบาลจึงพิจารณากำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาค ใต้ ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทุกด้านให้สอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

นโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2521-2540)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อ 24 มกราคม 2521 เป็นนโยบายฉบับแรกที่ครอบคลุมการไขปัญหาทุกด้าน มุ่งให้เกิดการประสานงานระหว่างส่วนราชการที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การเสริมสร้างความสงบสุขในพื้นที่และสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศมุสลิม ที่สำคัญ นโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ฉบับนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อปี 2524 ในการแปลงนโยบายลงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

กำเนิด ศอ.บต. : จุดเริ่มต้น ความไว้วางใจของประชาชน สู่ปัจจุบัน

พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา ประสบปัญหาด้านความมั่นคง อันมีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ และความสงบสุขของประชาชนโดยส่วนรวม ปัญหาดังกล่าวมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคส่วนอื่นของ ประเทศ รัฐบาล ได้มุ่งเน้นให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดและกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่ง ชาติสำหรับพื้นที่ดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ โดยมีขอบเขตคลอบคลุมการดำเนินงาน ทั้งในด้านการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 เห็นชอบการปรับปรุงระบบการบริหารงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพข้าราชการและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ที่สภาความมั่นคงได้เสนอแนะ และ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 8/2524 ลงวันที่ 20 มกราคม 2524 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของ ศอ.บต. และพตท.43 ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยให้กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ สนับสนุนการดำเนินงานทั้งปวงให้บรรลุผล

การจัดตั้งและภารกิจ

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) เป็นหน่วยงานอำนวยการระดับพื้นที่ซึ่งรัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยจัด ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2524 โดยพัฒนาจากศูนย์ประสานงานการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปต.) ของกรมการปกครองที่มีอยู่เดิม ทำน้าที่เร่งรัด กำกับ ดูแล ประสานงาน ผนึกกำลังและติดตามประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานฝ่ายพลเรือนและตำรวจใน พื้นที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยว กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นหนักงานด้านสังคมจิตวิทยา การเมือง การปกครอง การพัฒนาประสิทธิภาพข้าราชการ การพัฒนาเศรษฐกิจสังคม กาเสริมสร้างความเข้าใจอันดี และความร่วมมือในระดับท้องถิ่นกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการประสานการปฏิบัติงานกับส่วนราชการฝ่ายทหาร และกองบัญชาการผสม พลเรือนตำรวจทหารที่ 43 (พตท.43) ที่เป็นหน่วยงานอำนวยการ ที่จัดตั้งพร้อมกัน แต่มีภารกิจหลักในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายทุกรูปแบบ ภายใต้การกำกับดูแลของแม่ทัพภาคที่ 4 และมีคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธาน ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นรองประธาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ

ศอ.บต. : จากอดีต ถึงปัจจุบัน

การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกกำหนดให้เป็นนโยบายเร่งด่วนโดยจัดตั้งกลไกพิเศษ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัตินอกเหนือจากกลไกปกติ และมีพัฒนาการมาตามลำดับ กล่าวคือ

ศอ.บต. ในอดีต

ปี 2524 คำสั่ง สร. ที่ 8/2524 ลงวันที่ 24 ม.ค. 2524 ศอ.บต.รับผิดชอบงานด้านการพัฒนา และพตท.43 รับผิดชอบงานด้านความมั่นคง ขึ้นตรงต่อแม่ทัพภาคที่ 4
ปี 2539 คำสั่ง สร. ที่ 56/2539 ลงวันที่ 23 เม.ย. 2539 ปรับปรุงกลไกขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ปี 2545 ได้มีคำสั่งยุบ ศอ.บต. และพตท43 โอนภารกิจการแก้ไขปัญหา ให้หน่วยงานปกติ
ปี 2547 คำสั่ง นร. ที่ 69/2547 ลงวันที่ 24 มี.ค. 2547 จัดตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.) รับผิดชอบเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ปี 2549 ได้มีการรื้อฟื้น ศอ.บต. และ พตท. ขึ้นตามคำสั่ง นร. ที่ 207/2549 ลงวันที่ 30 ต.ค. 2549 อยู่ภายใต้การกำกับของ กอ.รมน.
ปี 2551 ศอ.บต. และพตท. เป็นหน่วยงานในสังกัด กอ.รมน. ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551

ศอ.บต. ในปัจจุบัน

จากการถอดบทเรียนในอดีตที่ผ่านมาได้แยก บทบาทของฝ่ายปราบ (ไม้แข็ง) และฝ่ายปลอบ (ไม้นวม) แยกงานด้านความมั่นคงและงานด้านการพัฒนาออกจากกัน ทำให้ประชาชนไม่ขาดที่พึ่ง มีที่ยืน มีเวลาผ่อนคลายทำให้งานด้านการพัฒนามีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลยิ่งขึ้น ทั้งบทบาทการชี้นำทางยุทธศาสตร์ให้หน่วยงาน Function ดำเนินการ และบทบาทเชิงรุกด้านการพัฒนา เข้าหาประชาชนในพื้นที่ เป็นที่พึ่งและไว้วางใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ศอ.บต. ในยุคที่ผ่านมา ยังมีจุดอ่อนในเรื่องการบริหารจัดการ เนื่องจากไม่ได้มีฐานะเป็นส่วนราชการตามกฎหมาย ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องการบริหารแผนงาน แผนเงิน และแผนคน รวมทั้งระเบียบ กฎหมาย และมติ ครม. ต่างๆ ไม่มีความยืดหยุ่น จึงได้มีการปรับโครงสร้าง ศอ.บต. ใหม่ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2553 โดยกำหนดให้ ศอ.บต.เป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงมีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

ด้านการบริหารงานมีเอกภาพ

นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาทั้งกอ.รมน. และ ศอ.บต. ทำให้มีเอกภาพ เชิงนโยบาย
ศอ.บต. เป็นศูนย์บูรณาการแผนงาน/โครงการของหน่วยงาน ที่ดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้แผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ใช้ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงาน

ด้านประสิทธิภาพ

เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ทำให้การบริหารและการแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว คล่องตัว ทันต่อสถานการณ์
มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกย่อว่า กพต. จำนวน 36 คน มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน มีรัฐมนตรี 17 คน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 11 คน ผู้แทนภาคประชาชน 5 คน เป็นกรรมการ มีเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นเลขานุการ ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนงาน/โครงการ/งบประมาณ รวมทั้งเร่งรัด กำกับ ติดตาม การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มีสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคประชาชนทำหน้าที่ให้ความเห็นในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์การพัฒนา ให้สอดคล้องกับความต้องการและอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ รวมทั้งให้คำปรึกษา เสนอแนะ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ ศอ.บต. ให้มีประสิทธิภาพ

ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

มีทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดแดนภาคใต้ โดยคัดเลือกมาจากภาคส่วนต่าง ๆ จำนวน 49 คน

บทบาท ภารกิจ

ศอ.บต. ยึดหน้าที่ตามมาตรา 9 แห่ง พรบ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ที่กำหนดให้ ศอ.บต. มีหน้าที่ 3 ส่วนคือ

ส่วนแรก การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรา 9 (1) ถึง (5)

(1) จัดทำ “ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาให้ความ เห็นก่อนเสนอ กพต. ให้ความเห็นชอบ

(2) จัดทำแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

(3) “เสนอแนะและบูรณาการ แผนงาน และโครงการในด้านการพัฒนาของกระทรวง ทบวง กรมและหน่วยงานอื่นของรัฐ” ที่ดำเนินการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการตาม (2)

(4) ดำเนินการตามแผนงานและโครงการต่อเนื่องจากแผนงานและโครงการที่หน่วยงานของ รัฐ ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งหากไม่ดำเนินการจะส่งผลเสียต่อการแก้ไขปัญหาตามยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้

(5) กำกับ เร่งรัด และติดตามการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐฝ่ายพลเรือนให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการตาม (2)

ส่วนที่สาม การเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้กับยุทธศาสตร์ของ กอ.รมน.

ศอ.บต. ต้องดำเนินการมาตรา 9 (16) วรรคสาม ที่บัญญัติไว้ว่าในการจัดทำแผนปฏิบัติการตาม (2) คือจัดทำแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นไปตาม ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ ศอ.บต. หารือกับหัวหน้าหน่วยงานที่กำกับดูแลยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงด้วย เพื่อให้แผนปฏิบัติการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงตาม กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

Loading

ข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบ

เก็บเงินปลายทาง, เล่มหนังสือ, แบบไฟล์ PDF

แนวข้อสอบ พนักงานประจำสำนักงาน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 2561 จาก 1 รีวิว

  1. webmaster

    แนวขอสอบ พร้อมเฉลย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ | อัพเดทล่าสุด ส.ค. 2561 **ฟรีค่าจัดส่งทั่วประเทศ
    – พนักงานประจำสำนักงาน http://bit.ly/2M7Nqvm
    – พนักงานการเงินและบัญชี http://bit.ly/2M4iCf1

เพิ่มบทวิจารณ์

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.