คำอธิบาย
เจาะลึก แนวข้อสอบ นิติกร สำนักงบประมาณ พร้อมเฉลย 2561 (BB)
เจาะลึก แนวข้อสอบ นิติกร สำนักงบประมาณ พร้อมเฉลย 2561 (BB) คู่มือเตรียมสอบสำหรับสอบเข้าบรรจุเข้าทำงานราชการ ในหน่วยงานสำนักงบประมาณ เนื้อหาปรับปรุงใหม่ล่าสุด ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น อ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย พร้อมเฉลยข้อสอบท้ายบท เรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เหมาะสำหรับเตรียมตัวสอบแข่งขันเพื่อบรรจุรับราชการ (ปรับปรุงเนื้อหาตามประกาศรับสมัคร พฤษภาคม 2561) สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd
เจาะลึก แนวข้อสอบ นิติกร สำนักงบประมาณ พร้อมเฉลย 2561 (BB)
– ความรู้เกี่ยวกับสำนักงบประมาณ
– พระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
– แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย พรบ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539
– แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539
– สรุป พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ความรู้รอบตัว สถานการณ์บ้านเมือง
– เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
– ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ
รูปแบบการสั่งชื้อ ฟรีค่าจัดส่ง
01. แบบไฟล์ PDF ราคา 395 บาท (จัดส่งทาง Email ภายใน 30 นาที)
02. แบบเล่มหนังสือ ราคา 585 บาท (จัดส่งโดย Kerry Express ภายใน 1–3 วัน)
03. แบบเล่มหนังสือ เก็บเงินปลายทาง ราคา 605 บาท (มีค่าบริการเพิ่ม 20 บาท [585+20=605] จัดส่งโดย Kerry Express ภายใน 1–3 วัน)
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขั้นตอนการชำระเงิน
สรุปแนวข้อสอบ คู่มือเตรืยมสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบราชการ พนักงานราชการ หน่วยงานรัฐ ปรับปรุงเนื้อหา ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน ก่อนออกว่างจำหน่าย มีสารบัญ และเลขหน้าระบุบอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @booksdd อย่าลืมมี @ นำหน้าด้วยนะค่ะ
สำนักงบประมาณ
สำนักงบประมาณเป็นส่วนราชการที่มีฐานะ เทียบเท่า กรมสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่จัดทำงบประมาณแผ่นดินเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติ ก่อนที่รัฐบาลจะนำเสนอรัฐสภา เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ประกาศใช้เป็นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป สำนักงบประมาณต้องทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และ ประเทศชาติ โดยจัดสรรออกมาในรูปของงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนำไปใช้จ่ายในกิจกรรมของรัฐ เพื่อการพัฒนาประเทศ และ กิจการที่จำเป็นทั้งมวล รวมทั้งจะต้องดูแลให้การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นไปอย่างประหยัดที่สุดไม่ให้มีการรั่วไหลหรือสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
สถานที่ตั้งของสำนักงบประมาณ
อาคารสถานที่ทำงานสำนักงบประมาณใช้ตึกพัฒนาซึ่งเป็นอาคารในบริเวณทำเนียบรัฐบาล เป็นที่ปฏิบัติงาน ต่อมาเมื่อมีการขยายภารกิจและบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้สถานที่เดิมคับแคบลง สำนักงบประมาณจึงได้ย้ายสถานที่ทำการมาอยู่ ณ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของสำนักงบประมาณ
เมื่อกรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2433 ในรัชกาลที่ 5 ก็ได้จัดให้มีกรมที่สำคัญกรมหนึ่ง คือ กรมบัญชีกลาง ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ใน สมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการแบ่งส่วนราชการของกรมบัญชีกลางใหม่ ให้เหมาะสมกับภารกิจ ที่เพิ่มขึ้น โดยจัดแบ่งออกเป็น 6 กอง กองหนึ่งในจำนวนนี้ คือ กองงบประมาณ โดยกำหนดงานในหน้าที่ไว้ดังนี้ คือ การตรวจจ่ายฎีกาเบิกค่าใช้สอยการจร และเงินพิเศษที่เบิกจ่ายในงบประมาณ รักษางบประมาณ รักษาวิธีการที่เกี่ยวกับงบประมาณทำงบประมาณแผ่นดินและรักษาลายเซ็นนาม ครั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกองงบประมาณ เป็นแผนกงบประมาณสังกัดกองค่าใช้จ่ายและการจร กรมบัญชีกลาง แต่ในปีถัดมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของงานงบประมาณอีก แผนกงบประมาณจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกองเช่นเดิมกองงบประมาณในครั้งนั้น ได้รับมอบหน้าที่จัดทำงบประมาณแผ่นดินประจำปีโดยตรงแต่ก็ยังเป็นลักษณะรวบรวมประมาณการรายจ่ายของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ การพิจารณาและวิเคราะห์คำของบประมาณได้ใช้วิธีการที่ไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมากนัก นอกจากนี้ก็ยังทำหน้าที่ควบคุมการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบด้วย
ต่อจากนั้นกองงบประมาณก็มีบทบาทเพิ่มขึ้น มีแผนกมากขึ้นกว่าเดิมพร้อมด้วยอัตรากำลังที่สูงขึ้นโดยลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2499 สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการพร้อมกับแนะนำให้ปรับปรุงบทบาท และสถานภาพของหน่วยงานนี้ ครั้นถึงปี พ.ศ. 2501 จึงได้เลื่อนฐานะเป็นส่วนการงบประมาณ แต่ยังคงสังกัดกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังเช่นเดิม
จนเมื่อเกิดการปฏิวัติขึ้นในเดือนตุลาคมปีนั้นคณะกรรมการฝ่ายการคลังและงบประมาณของคณะปฏิวัติได้พิจารณาเห็นว่าการงบประมาณนั้น เป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งของรัฐบาลในการที่จะบริหารและพัฒนาประเทศ สมควรยกฐานะหน่วยงานให้สูงกว่าเดิม และควรจัดแยกการจัดทำงบประมาณออกต่างหากจากการจัดเก็บรายได้และการเบิกจ่ายเงิน ดังนั้น รัฐบาลจึงได้จัดตั้งสำนักงบประมาณขึ้น โดยมีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี นับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2502 เป็นต้นมา
วิสัยทัศน์สำนักงบประมาณ
สำนักงบประมาณเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลที่ทันสมัย และเชื่อถือได้
พันธกิจสำนักงบประมาณ
- เสนอแนะและให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการงบประมาณแก่รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐ
- จัดทำงบประมาณรายจ่ายที่สนองต่อนโยบายและเป้าหมายนโยบายของรัฐบาล โดยคำนึงถึงวินัยทางการคลัง และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
- บริหารจัดการงบประมาณ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า ให้บรรลุเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ของงานตามแผนที่กำหนดไว้
- ติดตามประเมินผลและรายงานผลความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
ภารกิจ
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้สำนักงบประมาณมีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะและให้ความเห็นแก่รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐในด้านการงบประมาณ การจัดทำงบประมาณที่สนองต่อนโยบายและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล และการบริหารจัดการงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุภารกิจของรัฐเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมทั้งมีความคุ้มค่าสามารถตรวจสอบและเปิดเผยต่อสาธารณะได้
จรรยาบรรณข้าราชการ
โดยที่สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และการปฏิบัติงานของสำนักงบประมาณ ส่งผลกระทบต่อสังคมและประชาชนทุกระดับ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดแนวทาง และ หลักปฏิบัติให้ข้าราชการสำนักงบประมาณ ยึดถือเป็นอุดมการณ์ในการทำงานโดยกำหนดเป็นข้อพึงปฏิบัติและข้อควรละเว้นดังต่อไปนี้
จรรยาบรรณต่อตนเอง
- ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงาม ละเว้นจากอบายมุข ความชั่วทั้งปวง
- มีความอดทนขยันหมั่นเพียรที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเสียสละ ทุ่มเทสติปัญญา ความรู้ ความคิด ให้บรรลุผลสำเร็จตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยตรงต่อเวลารวมทั้งสำรวจแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง
- เพื่อพัฒนาการทำงานให้ดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ละเว้นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบให้กับตนเอง และ/หรือพวกพ้องหมู่คณะ จากหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- ต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ในวิทยาการใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในการทำงาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน
- ยึดมั่นรักษาในเกียรติภูมิของสำนักงบประมาณ ไม่ประพฤติปฏิบัติในทางที่ให้สำนักงบประมาณเสื่อมเสียชื่อเสียง
- รักษา เสริมสร้างความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมงานในหน่วยงานและหมู่คณะ พร้อมกับให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในทางที่ชอบ
- หลีกเลี่ยงการนำข้อมูลหรือเรื่องราวของเจ้าหน้าที่ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
- เรื่องส่วนตัว และ/หรือเรื่องความเป็นไป ในสำนักงบประมาณออกไปเปิดเผยหรือวิจารณ์ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่และ ภาพลักษณ์โดยรวมของสำนักงบประมาณ
- ดูแลทรัพย์สินและการใช้ทรัพย์สินของหน่วยงาน ให้เป็นไปอย่างประหยัด คุ้มค่าและด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความเสียหายหรือ สิ้นเปลือง
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน
- ร่วมมือในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนร่วมกันคิดศึกษากับเพื่อนร่วมงาน เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไข และพัฒนาปรับปรุงงานให้มีคุณภาพมากขึ้น
- ปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเมตตาและยุติธรรม ดูแลเอาใจใส่และพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยสนับสนุนให้ได้รับการอบรมและเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์อยู่เสมอ
- รับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับงานในหน้าที่และพิจารณานำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อราชการ
- รับฟังคำแนะนำและยอมรับในการสั่งการของผู้บังคับบัญชาในสิ่งที่ถูกที่ควร หลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานที่ข้ามขั้นตอนการบังคับบัญชา
- ปรับตนให้สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นด้วยความสุภาพ มีน้ำใจและมีมนุษยสัมพันธ์อันดี ไม่ปิดบังข้อมูลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของ ผู้ร่วมงาน และไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
จรรยาบรรณต่อหน่วยงานอื่น ประชาชนและสังคม
- ปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน ด้วยความเสมอภาค โปร่งใส่และเป็นธรรม
- รักษาไว้ซึ่งความเป็นอิสระเที่ยงธรรมและความเที่ยงตรงในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากอคติและไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใด ๆ
- ไม่แสดงอาการใช้อำนาจหรือดูถูกหน่วยงานอื่น ในลักษณะที่สำนักงบประมาณมีอำนาจเหนือกว่า
- ให้เกียรติข้าราชการหน่วยงานอื่น โดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพเรียบร้อย ชี้แจง อธิบายให้ข้าราชการหน่วยงานอื่นซึ่งต้องประสานงานด้วยให้เข้าใจเหตุผล
- ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตนในการหาประโยชน์จากข้าราชการของหน่วยงานอื่นในลักษณะของการต้อนรับหรือการให้บริการจนเกินขอบเขต
ที่มา http://www.bb.go.th/
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์